วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แผนแม่บท ICT แห่งชาติฉบับที่ 2

สรุปผลการวิเคราะห์สถานภาพด้าน ICT ของประเทศไทย
      การวิเคราะห์สถานภาพทางด้าน ICT ของประเทศไทย ซึ่งได้จากการวัดจากดัชนีมาตรฐานต่าง ๆ และการทำ SWOT เป็นต้น ซึ่งสรุปออกมาได้ 5 ประเด็นดังต่อไปนี้
1.    สถานภาพด้านโครงสร้างพื้นฐาน - ผลการวิเคราะห์พบว่า ประเทศไทยไม่มีปัญหาด้านการพัฒนาโครงข่ายหลัก (Backbone Network) แต่ปัญหาอยู่ที่โครงข่ายระดับปลายทาง (Last Mile Access) ที่ไม่เพียงพอ ไม่ครอบคลุม และด้อยคุณภาพ ซึ่งเป็นผลให้พื้นที่ห่างไกลและกลุ่มคนบางกลุ่มเช่น ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เป็นต้น ยังไม่สามารถเข้าใช้งานได้ดีนัก ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบการเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสารดั้งเดิมเช่น โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น (แผนแม่บทใช้คำว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศ)
2.      สถานภาพของประชาชนทั่วไป - ผลการวิเคราะห์พบว่า คนไทยมีการใช้ ICT ในระดับต่ำ ส่วนผู้ที่เข้าถึง ICT แล้วนั้นก็ยังไม่ใช้ ICT ให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง กล่าวคือใช้เพื่อความบันเทิงเป็นหลัก อีกทั้งมีการใช้งาน ICT ที่ไม่เหมาะสมอยู่มาก ซึ่งดูได้จากปริมาณของเนื้อหาที่ไม่พึงประสงค์ และอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ที่มีเป็นจำนวนมาก
3.    สถานภาพด้านบุคลากรทาง ICT - ยังขาดบุคลากรทางด้าน ICT อีกมาก ทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ
4.     สถานภาพด้านบุคลากรในภาครัฐ - ก็ยังขาดบุคลากรทางด้าน ICT ทั้งคุณภาพและปริมาณเช่นกัน โดยเน้นด้วยว่าเกิดจากผลตอบแทนต่ำและขาดแรงจูงใจที่เหมาะสม
5.     สถานภาพด้านการบริการจัดการ - ประเทศไทยมีหน่วยงานทางด้าน ICT เป็นจำนวนมากพอสมควร แต่มีการทำงานที่ซ้ำซ้อน ต่างคนต่างทำ ไม่เป็นเอกภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้านการวางแผน การกำกับดูแล การจัดการงบประมาณ เป็นต้น เป็นผลให้งานต่าง ๆ ขาดการบูรณาการ ขาดผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน และขาดการประเมินผลและติดตามผลอย่างจริงจัง
สรุปแผนยุทธศาสตร์ทั้ง 6 ด้าน
                จากผลการวิเคราะห์สถานภาพของ ICT ในส่วนแรก และนำมาสู่การตั้งวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ซึ่งเป็นกรอบกว้าง ๆ ของแนวทางที่จะทำ ซึ่งต้องนำมาแตกออกเป็นยุทธศาสตร์ย่อยอีกเพื่อให้สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ แผนแม่บทฉบับนี้ได้กำหนดยุทธศาสตร์ทั้งหมด 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
1.  การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน
2.  การบริหารจัดการระบบ ICT ระดับชาติอย่างมีธรรมาภิบาล
3.  การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4.  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารแลการบริการของภาครัฐ
5.   ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ
6.   การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น