วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553

แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2550 – 2554



แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2550 – 2554  กระทรวงศึกษาธิการกำหนดทิศทางการพัฒนาด้าน ICT 

ไว้ดังนี้
1. วิสัยทัศน์
2. พันธกิจ
3. เป้าประสงค์
4. เป้าหมาย
5. ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์
6. ยุทธศาสตร์  เป้าประสงค์  เป้าหมาย กลยุทธ์  ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ แผนงาน/กิจกรรม  หน่วยงานเจ้าภาพหลัก  แผนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.. 2550 – 2554
7. สรุปเกี่ยวกับบทบาทครูที่ต้องปฏิบิตตามยุทธศาสตร์  ทั้ง  ด้าน

วิสัยทัศน์
                                ผู้เรียน ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชน  ใช้ประโยชน์จาก ICT ในการเข้าถึงบริการทางการศึกษา ได้เต็มศักยภาพ อย่างมีจริยธรรม มีสมรรถนะทาง ICT ตามมาตรฐาน สากล

พันธกิจ
1.  การใช้ ICT   พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพ การเรียนรู้ 
2.  การใช้ ICT   เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทางการศึกษา
3.  การผลิตและพัฒนาคุณภาพผู้จบการศึกษาด้าน ICT เพื่อการพัฒนาประเทศ          

เป้าประสงค์
                        1.  การเรียนรู้ในระบบ  นอกระบบ และตามอัธยาศัย  เป็นการเรียนรู้โดยใช้ ICT เป็นฐาน (ICT - based   Learning) ที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพและประสิทธิภาพ:
2.  การบริหารจัดการและการให้บริการทางการศึกษา  ของหน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา เป็นการบริหารจัดการที่ใช้ ICT เป็นฐานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
                        3.  ผลิตและพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้าน  ICT   ที่มีคุณภาพ เพียงพอ สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ  และในทุกพื้นที่ใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง

เป้าหมาย  ภายในปี 2554
                        1.  สถานศึกษาทุกแห่ง  ทุกระดับจัดการเรียนการสอน โดยใช้ ICT เป็นฐาน (ICT- based Learning)   และเป็นศูนย์การเรียนรู้โดยใช้เครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอกที่มีความเร็วสูง   โทรทัศน์การศึกษาและสื่อ ICT  อื่นๆ  ตามมาตรฐานที่กำหนด
2. การจัดการศึกษาทางไกลครอบคลุมทุกพื้นที่ และมีศูนย์บริการการเรียนรู้ที่ได้มาตรฐานในทุกจังหวัด  เขตพื้นที่การศึกษา และทุกตำบล
3. หน่วยงานทางการศึกษาและสถานศึกษา ร้อยละ 80  ใช้ ICT  เพื่อการบริหารจัดการ ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
4.  มีหน่วยงานหรือองค์กรบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในทุกระดับ
5.  ผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา อย่างน้อยร้อยละ 80    มีสมรรถนะทาง  ICT  ตามมาตรฐานที่กำหนด
6.  ผู้สำเร็จการศึกษาทุกระดับ อย่างน้อยร้อยละ  80  มีมาตรฐานสมรรถนะด้าน ICT  ตามมาตรฐานหลักสูตรแต่ละระดับ   และผู้สำเร็จการศึกษาด้าน ICT ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50  ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล
7.  ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์และสาขาเทคโนโลยีกับผู้สำเร็จการศึกษาสาขาอื่น คิดเป็นสัดส่วน  50 : 50
8. ประชาชนที่ด้อยโอกาสและอยู่ห่างไกล ร้อยละ 90  ได้รับข่าวสาร ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตจากแหล่งความรู้ผ่านสื่อ ICT  และร้อยละ 70  ของประชากรวัยแรงงานใช้สื่อ ICT เพื่อยกระดับการศึกษาของตนเอง

ยุทธศาสตร์ที่ 1    การสร้างโอกาส  เพิ่มขีดความสามารถและยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้ด้วยสื่อ
                            อิเล็กทรอนิกส์  (e - Learning)
ยุทธศาสตร์ที่  2  การเป็นผู้นำในการใช้ ICT เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการ
                           ให้บริการทางการศึกษา (e- Management)
ยุทธศาสตร์ที่ 3   การผลิตและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรบุคคลด้าน ICT (e - Manpower)  
                ตามยุทธศาสตร์ที่ 1  e – Learning  เป็นการส่งเสริมให้ครู  บุคลากรทางการศึกษาและสถานศึกษา พัฒนา  ผลิตและใช้สื่ออีเล็กทรอนิกส์ (e-Contents) เพื่อการจัดการเรียนรู้ตามมาตรฐานที่กำหนด  และการพัฒนาระบบการเรียนรู้ด้วย ICT (e-Learning System) ในรูปแบบที่หลากหลาย
                ยุทธศาสตร์ที่ 2  e-Management  สถานศึกษาจัดหาและพัฒนาระบบด้าน ICT  และเครือข่าย การใช้ระบบงานอิเล็กทรอนิกส์และพัฒนาตามมาตรฐานระบบงานที่รัฐบาลกำหนด  พัฒนาผู้ดูแลระบบให้มีทักษะการใช้เครื่องมือเป็นไปตามมาตรฐานระบบงานที่รัฐบาลกำหนดทั้ง 10 ระบบงาน  ตลอดจนให้บริการด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์แก่นักเรียนและประชาชนเพื่อได้รับข้อมูลข่าวสารทางการศึกษาอย่างสะดวกรวดเร็วและเพื่มทางเลือกให้กับประชาชน  และพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยภาครัฐและเอกชนในการให้บริการด้าน ICT 
                ยุทธศาสตร์ที่ e-Manpower  ผลิตและพัฒนาทรัพยากรบุคคลด้าน ICT ที่มีคุณภาพและเพียงพอ
                ครูต้องผลิตสื่อโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอน  ซึ่งนั่นหมายถึงว่าครูจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับซอฟแวร์  และอาจหมายถึงฮาร์ดแวร์ด้วยเพราะต้องทำงานคู่กัน  ครูที่จบใหม่ ๆ อาจไม่มีปัญหามากเท่าไหร่  แต่เป็นห่วงครูที่มีอายุราชการมาก ๆ คงจะต้องปวดหัวหรือต้องหาตัวช่วย  และต้องทำการอบรมศึกษาอย่างต่อเนื่อง  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสถานศึกษาก็ต้องมีความพร้อมในด้านเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต  เพื่อประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
                ในฐานะที่เป็นครู  ครูต้องเข้ารับการพัฒนา  อบรม  สัมมนาเพื่อประมวลความรู้ให้เพิ่มพูนละนำความรู้ที่ดีรับจากการอบรมนั้นมาปรับประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้การเรียนการสอนมีคุณภาพและประสิทธิภาพและส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถด้าน ICT ตามมาตรฐานของหลักสูตรเป็นคนดีมีคุณภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น